ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์สื่อการสอนออนไลน์...ครูปทุมศิริ เขจร

:::หน้าหลัก:::

:::เกี่ยวกับวิชา:::

:::แบบทดสอบ:::

:::หน่วยการเรียนรู้:::

:::กิจกรรม:::

:::ติดต่อครูผู้สอน:::


ระบบบำบัดน้ำเสียแบบตะกอนเร่ง

               เมื่อน้ำเสียมีปริมาณสารอินทรีย์สูงมากขึ้น ใช้เวลาในการบำบัดนาน จึงมีการเติมแบคทีเรียซึ่งเป็นจุลินทรีย์
ชนิดหนึ่งที่ใช้ ออกซิเจนในการย่อยสลาย พร้อมกับมีการเติมอากาศ ซึ่งเป็นการผสมให้น้ำเสียและจุลินทรีย์ที่อยู่ในถัง
เป็นเนื้อเดียวกัน เพื่อเร่งการย่อยสลายสารอินทรีย์และอนินทรีย์ให้เร็วขึ้น
              - สามารถบำบัดได้ทั้งน้ำเสียชุมชนและน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่
              - ใช้เวลาในการบำบัดน้ำเสียน้อยลง
              - การดำเนินงานและบำรุงรักษามีความยุ่งยากเพราะต้องควบคุมสภาพแวดล้อมและลักษณะทางกายภาพให้เหมาะสมกับ
การเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ใช้เวลาในการบำบัดน้ำเสียน้อยลง


ระบบบำบัดน้ำเสียแบบโดแอกกูเลชัน (Coagulation)

               การบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีที่กล่าวมาแล้วไม่สามารถบำบัดน้ำเสียที่มีสารแขวนลอยขนาดเล็ก (อนุภาคอยู่ในช่วง 0.1-1
นาโนเมตร) จึงนำหลักการของกระบวนการโคแอกกูเลชันซึ่งเป็นกระบวนการประสานคอลลอยด์มาใช้ในการบำบัด โดยการ
เติมสารช่วยให้เกิดการตกตะกอน เช่น สารส้ม ลงไปในน้ำเสียทำให้สารแขวนลอยขนาดเล็กจับตัวกันเป็นกลุ่มก้อนจนมี
น้ำหนักมากและสามารถตกตะกอนลงมาได้อย่างรวดเร็ว
               สามารถบำบัดน้ำเสียจากโรงานอุตสาหกรรมที่มีสารแขวนลอยขนาดเล็กและมีไขมันหรือน้ำมันละลายอยู่มีค่าใช้จ่าย
ในการซื้อสารเคมี และมีการใช้ไฟฟ้าในการกวนผสมสารเคมีกับน้ำเสีย การดำเนินงานและบำรุงรักษายุ่งยาก เพราะต้องหา
ค่าปริมาณสารเคมีที่เหมาะสมกับน้ำเสียที่เข้าระบบ ในกรณีที่น้ำเสียที่ผ่านการบำบัดยังมีค่าสารอินทรีย์สูงต้องส่งไปบำบัด
ต่อด้วย 3 วิธีดังกล่าวข้างต้น
               ในกรณีที่น้ำเสียที่ผ่านการบำบัดยังมีค่าสารอินทรีย์สูงต้องส่งไปบำบัดต่อด้วย 3 วิธีดังกล่าวข้างต้น


ระบบนำบัดน้ำเสียแบบการแลกเปลี่ยนประจุ

              โรงงานอุตสาหกรรมบางแห่งมีโลหะหนักปนเปื้อนในน้ำเสีย จึงมีการพัฒนาระบบให้สามารถบำบัดโลหะหนัก
ได้โดยอาศัย หลักการแลกเปลี่ยนประจุระหว่างโลหะหนัก ในน้ำเสียกับตัวกลางหรือเรซินโดยโลหะหนัก จะแลกเปลี่ยน
ประจุกับเรซิน แล้วถูกเรซินจับไว้ ทำให้น้ำเสียที่ผ่านระบบไม่มีสารปนเปื้อนของโลหะหนักเหลืออยู่

             - บำบัดน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมที่มีโลหะหนักปนเปื้อน
             - ฟื้นฟูสภาพของเรซินที่เสื่อมสภาพให้นำกลับมาใช้ใหม่ได้
             - นำโลหะหนักที่เป็นสารปนเปื้อนมาใช้ประโยชน์ใหม่
             - ใช้สารเคมีในการฟื้นฟูสภาพของเรซิน
             - มีค่าใช้จ่ายในการดูแลระบบ และอุปกรณ์มีราคาแพง

            เกร็ดน่ารู้ ::> น้ำเสีย คือ น้ำที่มีสารใดๆ หรือสิ่งปฏิกูลที่ไม่ต้องการปนอยู่ การปนเปื้อนของสิ่งสกปรกเหล่านี้ จะทำให้
สมบัติของน้ำเปลี่ยนแปลงไปจนอยู่ในสภาพที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้ สิ่งปนเปื้อนที่อยู่ในน้ำเสีย เช่น นำ้มัน ไขมัน
ผงซักฟอก สบู่ ยาฆ่าแมลง สารอินทรีย์ และสารอนินทรีย์

           

 
กระบวนการทำงาน (process)

              1. น้ำเสียไหลเข้าสู่บ่อเติมอากาศ
              2. เติมออกซิเจนลงไปในน้ำด้วยเครื่องเติมอากาศ ทำให้เกิดการผสมของตะกอนจุลินทรีย์ ออกซิเจนที่ละลายในน้ำ และน้ำเสีย
              3. ส่งน้ำเสียจากบ่อเติมอากาศไปที่บ่อบ่มเพื่อตกตะกอน
              4. ส่งน้ำที่แยกตะกอนจากบ่อบ่มไปที่บ่อเติมคลอรีนเพื่อฆ่าเชื้อโรค

ผลผลิต (ouput)

              น้ำที่ผ่านการบำบัด มีค่ามาตรฐานตรงตามค่าควบคุมการระบายน้ำทิ้งของกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากร
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

อ่านต่อหน้า------->1<      >2<      >3<

ผู้สอน
นางสาวปทุมศิริ เขจร









โรงเรียนมัธยมเทศบาลวัดท่าแพ
เลขที่ 2 ถนนท่าแพใต้ ตำบลปากแพรก อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช 80110
โทร : 075-411397