ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์สื่อการสอนออนไลน์...ครูปทุมศิริ เขจร

:::หน้าหลัก:::

:::เกี่ยวกับวิชา:::

:::แบบทดสอบ:::

:::หน่วยการเรียนรู้:::

:::กิจกรรม:::

:::ติดต่อครูผู้สอน:::

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 คาดการณ์เทคโนโลยีในอนาคต


อ้างอิงจาก : หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ของ สสวท.

ประกอบด้วยเนื้อหา ดังนี้

        1.  การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและการเลือกใช้เทคโนโลยี
        2. การคาดการณ์เทคโนโลยีในอนาคต

จุดประสงค์ของบทเรียน

        1. เลือกใช้เทคโนโลยี โดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อชีวิต สังคม และสิ่งแวดล้อม
        2. คาดการณ์แนวโน้มเทคโนโลยีในอนาคต


การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และการเลือกใช้เทคโนโลยี

               เมื่อศึกษาย้อนไปในอดีตจะพบว่าเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลง
รูปร่าง รูปทรง กลไกการทำงาน วิธีการใช้งาน วัสดุ และวิธีการผลิต เพื่อให้มีความสะดวกสบายในการใช้งาน ซึ่งสาเหตุที่ทำให้
เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาเกิดจากปัจจัยหลายด้าน เช่น ปัญหา ความต้องการ ความก้าวหน้าของศาสตร์ต่าง ๆ สภาพเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีส่งผลให้มนุษย์มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีอายุยืนยาวขึ้นทำให้มีความต้องการใช้ทรัพยากรมากขึ้น จนเกิดปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ                ดังนั้นการเลือกใช้หรือการพัฒนาเทคโนโลยีต้องคำนึงถึงผลกระทบทั้งทางด้านบวกและด้านลบต่อชีวิต สังคมและ
สิ่งแวดล้อม ซึ่งนักเรียนจะได้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและการเลือกใช้เทคโนโลยี การจัดการปัญหามลพิษ
ทางสิ่งแวดล้อม จากหัวข้อต่อไปนี้


1. การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการจัดการขยะมูลฝอย


เทกลางแจ้ง

               เมื่อมีขยะมูลฝอยเกิดขึ้น จึงมีการนำขยะมูลฝอยไปกำจัดโดยการเทกองรวมกันไว้กลางแจ้งในพื้นที่ว่างเปล่าเพื่อ
ให้ขยะมูลฝอยเน่าเปื่อยตามธรรมชาติ
               * เป็นวิธีที่ง่ายและไม่ยุ่งยากต่อการจัดการขยะมูลฝอยและใช้งบประมาณน้อย
               * เป็นแหล่งแพร่กระจายเชื้อโรค และเกิดกลิ่นรบกวน
               * ใช้พื้นที่มาก ทำให้บ้านเมืองสกปรกและไม่เป็นระเบียบ ส่งผลกระทบต่อ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
               * เกิดปัญหามลพิษทางน้ำ ดิน อากาศ และทัศนียภาพ


ฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล

               ขยะมูลฝอยส่งกลิ่นรบกวน เป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคจึงมีการนำขยะมูลฝอยมาฝังกลบในบ่อขยะที่จัดเตรียมไว้ โดยมีการออกแบบและก่อสร้างตามหลักวิชาการ เช่น การปูพื้นบ่อขยะด้วยพลาสติกกันซึม เพื่อป้องกันการปนเปื้อน
ของน้ำชะขยะลงสู่แหล่งน้ำหรือปนเปื้อนลงในดิน การวางท่อระบายแก๊สที่เกิดจากการย่อยสลายของสารอินทรีย์ที่อย
ู่ในบ่อขยะ
               - เป็นระบบที่ง่ายไม่ซับซ้อน ค่าใช้จ่ายในการลงทุนและค่าดูแลระบบไม่สูง
               - สามารถกำจัดขยะมูลฝอยได้ทุกประเภท ยกเว้นขยะพิษ และขยะติดเชื้อ
               - แก๊สมีเทนที่เกิดจากการฝังกลบสามารถนำไปผลิตกระแสไฟฟ้าได้
               - ใช้พื้นที่ฝังกลบมาก และพื้นที่ต้องห่างไกลจากชุมชน
               - มีค่าใช้จ่ายในการขนส่งขยะมูลฝอย
               - ใช้ดินกลบทับขยะมูลฝอยเป็นจำนวนมาก


หมักทำปุ๋ย

               ขยะอินทรีย์ (เศษอาหาร เศษผัก ผลไม้ ของเหลือจากการเกษตร)เพิ่มมากขึ้น พื้นที่ไม่เพียงพอต่อการฝังกลบ
จึงใช้ความรู้เรื่องการย่อยสลายสารอินทรีย์โดยนำขยะอินทรีย์มาผ่านกระบวนการหมักให้เป็นปุยเพื่อปรับปรุงคุณภาพดิน
              - สร้างประโยชน์จากขยะอินทรีย์โดยการผลิตปุ๋ย
              - มีการคัดแยกขยะอินทรีย์ก่อนเข้ากระบวนการหมักทำปุ๋ย
              - พื้นที่ในการทำปุ๋ยหมักต้องห่างกลจากชุมชน เพื่อป้องกันกลิ่นรบกวน
              - มีการดูแลระบบอย่างสม่ำเสมอ เช่น การพลิกกลับกองปุ๋ยหมัก


เตาเผาในชุมชน

               เมื่อพื้นที่ไม่เพียงพอต่อการจัดการขยะมูลฝอยแบบการฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาลแต่มีความรู้ในเรื่อง
เทคโนโลยี การผาไหม้มากขึ้น จึงมีการสร้างเตาเผาชุมชนที่มีขนาดเล็กสามารถจัดการขยะมูลฝอยปริมาณไม่มากได้
เป็นอย่างดี
              - ไม่ก่อให้เกิดขยะมูลฝอยตกค้างในชุมชน
              - ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการขนส่งขยะมูลฝอย
              - ใช้พื้นที่ในการจัดการขยะมูลฝอยน้อย
              - ก่อนการเผามีการคัดแยกขยะอินทรีย์และขยะที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้
              - ก่อให้เกิดปัญหามลพิษทางอากาศ เช่น ฝุ่นละออง จากการเผาไหม้ ซึ่งเป็นผลเสียต่อระบบหายใจ
              - มีค่าใช้จ่ายในการลงทุนและค่าดำเนินการดูแลระบบ
มีค่าใช้จ่ายในการลงทุนและค่าดำเนินการดูแลระบบ


เตาเผาเพื่อผลิตพลังงาน

               ขยะมูลฝอยมีจำนวนมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เตาเผาชุมชนไม่สามารถกำจัดได้หมด และเทคโนโลยีมีความ
ก้าวหน้ามากขึ้น จึงมีการนำความรู้ในเรื่องการนำพลังงานความร้อนจากการเผาไหม้ขยะมูลฝอยมาผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้า
เกิดเป็นแนวคิด "เปลี่ยนขยะเป็นพลังงาน"
              - ใช้ประโยชน์จากขยะมูลฝอยในการผลิตพลังงานไฟฟ้า
              - ใช้พื้นที่น้อย ไม่ก่อให้เกิดขยะมูลฝอยตกค้าง
              - หากดำเนินการไม่เหมาะสมอาจก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศทำให้ระคายเคืองกับระบบหายใจ
              - เถ้าที่เกิดจากการเผาไหม้ ต้องนำไปกำจัดด้วยวิธีฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล               
              - ค่าใช้จ่ายในการลงทุนและค่าดำเนินการดูแลระบบสูง

อ่านต่อหน้า------->1<      >2<      >3<

ผู้สอน
นางสาวปทุมศิริ เขจร
















โรงเรียนมัธยมเทศบาลวัดท่าแพ
เลขที่ 2 ถนนท่าแพใต้ ตำบลปากแพรก อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช 80110
โทร : 075-411397