ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์สื่อการสอนออนไลน์...ครูปทุมศิริ เขจร

:::หน้าหลัก:::

:::เกี่ยวกับวิชา:::

:::แบบทดสอบ:::

:::หน่วยการเรียนรู้:::

:::กิจกรรม:::

:::ติดต่อครูผู้สอน:::

วางแผนสร้างสรรค์ และนำเสนอ


อ้างอิงจาก : หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) ของ สสวท.

ประกอบด้วยเนื้อหา ดังนี้
                     1. การวางแผนการแก้ปัญหา
                     2. สิ่งที่ควรรู้ก่อนลงมือสร้างชิ้นงาน
                     3. การทดสอบ ประเมินผล และปรับปรุงแก้ไข                      
                     4. การนำเสนอ

จุดประสงค์ของบทเรียน
                     1. วางแผนการทำงานก่อนลงมือสร้างชิ้นงาน
                     2. เลือกอุปกรณ์เหมาะสมกับงานและใช้อย่างถูกวิธี
                     3. ทดสอบ ประเมินผล และปรับปรุงแก้ไขชิ้นงาน
                     4. นำเสนอผลการทำงานด้วยรูปแบบที่เหมาะสม


3.1 การวางแผนการแก้ปัญหา

                     หลังจากที่ได้ออกแบบวิธีการแก้ปัญหาแล้ว ก่อนดำเนินการแก้ปัญหาหรือลงมือสร้างชิ้นงานตามที่ได้
ออกแบบ ไว้ต้องมีการวางแผนการดำเนินงานอย่างเป็นชั้นตอน เพื่อลดระยะเวลาในการทำงานรวมไปถึงลดความ
ผิดพลาดในการ ทำงานด้วย การวางแผนจะเริ่มจากการวิเคราะห์องค์ประกอบของงานที่จะต้องปฏิบัติว่าประกอบ
ด้วยงานย่อยอะไรบ้าง จากนั้นเขียนเป็นกิจกรรมที่ต้องทำในแต่ละงานพร้อมกับระบุระยะเวลาและผู้ที่เกี่ยวข้อง
หรือ ผู้ที่รับผิดชอบในกิจกรรมนั้น ๆ (หากไม่สามารถระบุเวลาที่แน่นอนได้ สามารถประมาณการหรือกำหนด เป็น
ช่วงเวลา ของการทำงานได้)

                     การวางแผนการดำเนินงานสามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น ผังงานแสดงลำดับขั้นตอนตารางการ
ปฏิบัติงาน

                     หลังจากที่กำหนดลำดับขั้นตอนการทำงานแล้ว จะนำมาจัดทำเป็นตารางดำเนินการที่ระบุเวลาชัดเจน

แบบจำลองแสดงรูปร่างของบ้าน

3.2 สิ่งที่ควรรู้ก่อนลงมือสร้างชิ้นงาน

                     เมื่อได้วางแผนการดำเนินการแล้ว จากนั้นลงมือปฏิบัติงานตามแผนที่ได้วางไว้ หากเป็นงานที่ต้อง
ลงมือสร้างชิ้นงานที่เกี่ยวกับเหล็กไม้ พลาสติก หรืองานที่เกี่ยวกับสารเคมีต่างๆ ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของ
การใช้วัสดุอุปกรณ์เป็นสำคัญ ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานจะรวมถึงการเลือกใช้อุปกรณ์ที่ถูกต้องกับลักษณะ
งานวิธีการใช้อุปกรณ์ที่ถูกต้อง และชุดปฏิบัติงานที่เหมาะสม ตัวอย่างเช่น การทำงานที่เกี่ยวกับสารเคมีผู้ปฏิบัติ
งาน ต้องสวมแว่นตาผ้าปิดจมูก และถุงมือย่างเพื่อป้องกันสารเคมีสัมผัสกับร่างกายทั้งการสัมผัส สูดดมและป้องกัน
สารเคมีกระเด็นเข้าตา

                ในการเชื่อมเหล็ก ผู้ปฏิบัติงานจะต้องแต่งกายอย่างมิดชิดด้วยเสื้อผ้าที่หนาใส่ถุงมือและหน้ากากป้องกัน
แสงที่เกิดจากการเชื่อมเหล็ก


รูป 3.3 ชุดปฏิบัติการสำหรับงานเชื่อมเหล็ก

ตารางสัญลักษณ์ของผังงาน (Flowchart)  


อ่านต่อหน้า------->1<      >2<      >3<      >4<      >5<      >6<

ผู้สอน
นางสาวปทุมศิริ เขจร























โรงเรียนมัธยมเทศบาลวัดท่าแพ
เลขที่ 2 ถนนท่าแพใต้ ตำบลปากแพรก อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช 80110
โทร : 075-411397